Curriculum Theory


ทฤษฎีหลักสูตร (Curriculum Theory)


จุดมุ่งหมาย
การเรียนรู้ในเรื่องของ ทฤษฎีหลักสูตรนั้น เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจและทราบถึงทฤษฎีหลักสูตรที่มีจุดมุ่งหมายที่แตกต่างกันออกไป โดยที่ทฤษฎีหลักสูตรเหล่านี้จะเป็นพื้นฐานในด้านการพัฒนาหลักสูตรต่อไป


เนื้อหา
ทฤษฎีหลักสูตรถือเป็นแนวทางในการผลิตหลักสูตรที่ถูกยึดถือกันมาเป็นแม่แบบของหลักสูตรต่าง ๆ โดยที่ทฤษฎีหลักสูตรนั้นจะมีความมุ่งหมายเฉพาะตัวของแต่ละทฤษฎี ดังที่จะสรุป ดังนี้




1. หลักสูตรเน้นวิชาและเนื้อหาวิชา ผู้มองหลักสูตรในแนวนี้คือ ผู้ที่ยึดลัทธิสัจนิยม ( Parennalism ) และสาระนิยม (Essentialism)
2. หลักสูตรเป็นประสบการณ์ ยึดลัทธิก้าวหน้านิยม (Progressivism) โดยเชื่อว่าวัฒนธรรมคือ สิ่งแวดล้อมของสังคม คนจะต้องยอมรับสภาพของสังคม และปรับสภาพสังคมให้ดีขึ้น จึงยึดหลักนักเรียนเป็นศูนย์กลาง (child centered) โดยดูความสนใจของผู้เรียนเป็นหลักในการสอนและการจัดประสบการณ์ให้เขา หลักสูตรจึงหมายถึงประสบการณ์ทั้งมวลที่นักเรียนพึงจะได้รับภายใต้การนำของครู
3. หลักสูตรเป็นจุดประสงค์ ถือว่าการสอนเป็นหนทางอย่างหนึ่งที่จำนำไปสู่จุดประสงค์ที่กำหนด
4. หลักสูตรเป็นแผนการ หลักสูตรคือแผนการที่จะนำไปสู่การเรียนรู้ เป็นสิ่งที่เกิดจากความตั้งใจและคาดการณ์ไว้ล่วงหน้า โดยเพ่งเล็งไปที่จุดมุ่งหมายของการศึกษา รวมถึงการจัดวางหลักสูตรการนำหลักสูตรไปใช้ในด้านการปฏิบัติ คือ การสอน และการประเมินผลหลักสูตรเพื่อให้เหมาะกับสภาพท้องถิ่น
5. หลักสูตรเป็นระบบการผลิต มองการให้การศึกษาเช่นเดียวกับระบบการผลิตสินค้า โดยคำนึงถึงทุนที่ได้ลงไปกับผลที่ตามออกมา จึงพยายามทำหลักสูตรให้เป็นรูปธรรมมากที่สุด เช่น เขียนในรูปจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม มีการวิเคราะห์งาน วิเคราะห์กิจกรรมดังเช่น หลักสูตรระดับมัธยมศึกษา พ.ศ. 2521

นอกจากนี้ยังมีทฤษฎีหลักสูตรที่สำคัญอีก 2 รูปแบบคือ

1. ทฤษฎีวิศวกรรมหลักสูตร คือ การออกแบบหลักสูตรตลอดจนการนำไปใช้เปรียบได้กับ Administrator

2. ทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตร คือ การออกแบบและผลิตหลักสูตร เปรียบเทียบได้กับ Manager

อ้างอิงจาก

http://course-4.blogspot.com/2010/07/curriculum-activity.html

ความคิดเห็น

ทฤษฎีหลักสูตรเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ทำให้กระบวนการผลิตหลักสูตรหรือการพัฒนาหลักสูตรมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้นทั้งนี้ ทฤษฎีหลักสูตรแต่ละทฤษฎีจะต้องคำนึงถึงผู้เรียน สังคม และเนื้อหาวิชาด้วย จึงจะสามารถเลือกใช้ทฤษฎีต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม ตัวอย่างเช่น Progressivism จะเน้นการที่ผู้เรียนเป็นศูนย์ คือ จะสามารถมองเป็นรูปกรวยฐานสามเหลี่ยมโดยที่ Progressivism จะอยู่ด้านบนสุดซึ่งหมายถึง ทุกๆ ด้านของกรวยจะทำให้เกิดการจัดการเรียนรู้ที่ให้เด็กเป็นศูนย์กลางนั่นเองค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น